วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กุญแจฟา

2. กุญแจฟา
     เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับเสียงของเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ  ภาษาอังกฤษเรียกว่า " เอฟ แคลป " (  F Clef  )  หรือ เบส แคลป  (  Bass Clef  )  โดยทั่วไปมักเรียกว่า  กุญแจฟา   ในการเขียนกุญแจฟา เขียนให้หัวกุญแจอยู่คาบเส้นที่ 4  ของบรรทัดห้าเส้น  โน๊ตทุกตัวที่คาบเส้นที่ 4จะมีเสียงเป็นเสียงเดียวกับแจ  คือ เสียงฟา

                 
                            

เมื่อเราทราบชื่อของตัวโน๊ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปยังเสียงสูง  และทราบชื่อชองตัวโน๊ตที่คาบอยู่เส้นที่ 4 ของบรรทัดห้าเส้น คือตัว ฟา  แล้วยังสามารถทราบชื่อตัวโน๊ตอื่นๆ ที่ไล่อยู่ในกุญแจฟาได้ดังนี้


              




























กุญแจซอล

  1. กุญแจซอล
       เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับกลางถึงสูง ภาษาอังกฤษเรียก “จี เคลฟ”(G Clef) หรือ “เทร็บเบิ้ล เครฟ” (Treble Clef) โดยทั่วไปเรียกว่า “กุญแจซอล” ในการเขียนกุญแจซอลบันทึกโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ซอล” ดังตัวอย่าง


        โดยปกติแล้วในทางดนตรีได้มีนักปราชญ์ทางดนตรีได้กำหนดชื่อเรียกระดับเสียงตัวโน้ตและได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดเรียงจากระดับเสียงต่ำไปหาสูง 7 เสียงดังนี้ C D E F G A B C ไม่ว่าระดับเสียงจะสูงหรือต่ำก็คงมีชื่อกำกับเพียง 7 เสียงหลัก ๆ เท่านั้น เพียงแต่การบันทึกโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้น เสียงที่เรียกชื่อเหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกันเรียกว่ามีระยะขั้นคู่แปดระดับเสียงที่ต่างกันเราเรียกว่า “อ๊อคเทฟ” (Octave)


       จากข้างต้นเมื่อเราทราชื่่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของกุญแจซอลคือตัว “ซอล” แล้ว เราสามารถทราบชื่อโน้ตตัวอื่น ๆ ได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้

เครื่องหมายตาไก่


เครื่องหมายตาไก่หรือศูนย์ (Fermata)
        เป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่มีลักษณะคล้ายตาไก่ คนไทยเราก็เลยนิยมเรียกง่าย ๆ ตามลักษณะที่เห็นว่า “ตาไก่” ใช้สำหรับเขียนกำกับตัวโน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้แต่งต้องการให้ยืดเสียงออกตามความพอใจ การเขียนเครื่องหมายตาไก่นิยมเขียนกำกับไว้ที่หัวตัวโน้ต และจะมีผลกับตัวโน้ตตัวนั้น ๆ ไม่ว่าตัวโน้ตลักษณะใดก็ตาม


เส้นโยงเสียง

  1.  เส้นโยงเสียง (Ties)  คือ  การเพิ่มอัตราจังหวะโดยการใช้เสียงโยงเสียงที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง   ใช้กับตัวโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเดียวกันเท่านั้น ใช้ได้ 2 กรณี คือ ใช้โยงเสียงตัวโน้ตภายในห้องเดียวกันหรือโยงเสียงต่างห้องก็ได้ มีความหมายคล้ายกับเครื่องหมายบวก  (+)  การเขียนเส้นโยงเสียงให้เขียนเส้นโยงที่ตำแหน่งหัวตัวโน้ต ส่วนตัวหยุดไม่ต้องใช้เครื่องหมายโยงเสียง เช่น 

                            
          

          มีเครื่องหมายอีกลักษณะหนึ่งที่คล้ายกับการโยงเสียง คือเครื่องหมายสเลอ  (Slur) เครื่องหมายสเลอเป็นเส้นโค้งมีไว้สำหรับเชื่อมกลุ่มตัวโน้ตที่ต่างระดับกันหรือคนละเสียงเพียงเพื่อต้องการให้เล่นโน้ตที่มีเครื่องหมายสเลอนี้คล่อมอยู่ให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเล่นแบบลากเสียงยาว

                                             

เคื่องหมายเเปลงเสียง



     เครื่องหมายแปลงเสียง  เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้เขียนกำกับหน้าตัวโน๊ตหรือหลังกุญแจประจำหลัก  เพื่อต้องการให้เสียงสูงขึ้น   ต่ำลง  หรือกลับมาเป็นปกติ  มีอยู่ 5 ชนิด  คือ

Sharp  =  ทำให้เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง
Flat  =  ทำให้เสียงต่ำลงครึ่งเสียง
Natural  =  ทำให้เสียงที่สูงขึ้น หรือ ต่ำลง กลับมาเป็นเสียงปกติ
Double  Sharp  =  ทำให้เสียงสูงขึ้น 1 เสียง
Double  Flat  =  ทำให้เสียงต่ำลง 1 เสียง


การประจุด

  1. การประจุด(Dots)
  2. เป็นเพิ่มอัตราจังหวะของตัวโน้ตโดยการประจุด(.)เพิ่มเข้าไปด้านหลังของตัวโน้ตตัวที่ต้องการเพิ่มอัตราจังหวะ จุด (.) ที่นำมาประหลังตัวโน้ตจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตข้างหน้าแล้วรวมกัน  เช่น



    * ถ้ามีสองจุด  จุดหลังจะมีค่าเป็นครึ่งนึงของจุดแรก *



    การเปรียบเทียบระหว่างจัวโน๊ตประจุดและตัวหยุดประจุด

การเปรียบเทียบตัวโน๊ตในบรรทัดห้าเส้นกับคีย์เปียโน